วิตามินซีกินพร้อมแคลเซียมได้ โดยไม่มีปฏิกิริยาต่อกัน แนะนำว่าแคลเซียมควรกินคู่กับวิตามินดี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น
ยาและอาหารเสริมที่ไม่ควรกินพร้อมวิตามินซี
- วิตามิน B12
- ธาตุเหล็ก
- ยาต้านการแข็งตัวของเลือด Warfarin
- ยาลดกรด ในยาลดกรดที่มีอลูมิเนียม (Aluminum)
- ยาที่ใช้รักษาอาการทางจิตเวช Fluphenazine (Prolixin)
- ยาเอสโตรเจน (Estrogens)
- ยาเคมีบำบัด (Alkylating agents)
- ยารักษาการติดเชื้อเอชไอวี Indinavir (Crixivan)
- ยารักษาไทรอยด์ Levothyroxine (Synthroid และอื่นๆ)1
นอกจากนี้ยังมียาอื่นๆอีกที่มีปฏิกิริยากับวิตามินซี แต่มีผลกระทบน้อย สามารถดูได้เพิ่มเติมจาก WebMD (Vitamin C (Ascorbic Acid) – Uses, Side Effects, and More)
รู้จักฟอร์มของแคลเซียม
แคลเซียมที่เป็นอาหารเสริมมักจะรวมอยู่กับคาร์บอเนตหรือซิเตรต ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป การเลือกกินฟอร์มที่เหมาะกับพฤติกรรมตัวเอง ช่วยให้ร่างกายได้ดูดซึมแคลเซียมได้ดี
แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นแคลเซียมที่ประหยัดและคุ้มค่าที่สุด เพราะมีแคลเซียมสูง (ประมาณ 40% ของน้ำหนัก) แต่ต้องกินพร้อมอาหาร เพราะต้องใช้กรดในกระเพาะอาหารช่วยในการดูดซึม และด้วยความย่อยยากของแคลเซียมคาร์บอเนต ทำให้บางคนอาจมีอาการท้องผูกหรือท้องอืดได้
แคลเซียมซิเตรท ดูดซึมได้ง่ายกว่าแคลเซียมคาร์บอเนต สามารถกินตอนท้องว่างได้ และคนที่กินยาลดกรดจะดูดซึมแคลเซียมซิเตรทได้ดีกว่าอีกด้วย แต่เนื่องจากแคลเซียมซิเตรทมีแคลเซียมจริงๆเพียง 21% ซึ่งอาจต้องกินหลายเม็ดถึงจะเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน2
ฟอร์ม | การดูดซึม | ปริมาณธาตุแคลเซียม |
---|---|---|
แคลเซียมคาร์บอเนต (carbonate) | ดูดซึมดีถ้ากินพร้อมอาหาร | 40% ของน้ำหนัก |
แคลเซียมซิเตรท (citrate) | ดูดซึมดีตอนท้องว่าง | 21% ของน้ำหนัก |
ข้อมูลอ้างอิง
- https://www.mychannelnews.com/health/vitamin-c-interactions/ (Accessed on: 10 Jul 2024) ↩︎
- https://www.health.harvard.edu/nutrition/choosing-a-calcium-supplement (Accessed on: 10 Jul 2024) ↩︎
- https://ods.od.nih.gov/factsheets/Calcium-HealthProfessional/ (Accessed on: 10 Jul 2024) ↩︎