ซีลีเนียม (selenium) คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่ง ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมการทำงานของไอโอดีนที่มีความสำคัญกับฮอร์โมนไทรอยด์ รวมถึงการเผาผลาญอาหาร ร่างกายของเราต้องการซีลีเนียมในปริมาณที่น้อยมาก
อาการขาดซีลีเนียม
มีโอกาสน้อยมากที่เราจะขาดซีลีเนียม สำหรับคนที่ขาด อาจทานอาหารเสริมได้ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ
- โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ
- โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ
โดยอาจมีอาการต่อไปนี้
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดหัว
- สภาพจิตใจเปลี่ยนแปลง
- สับสน
- ง่วง
- ชัก
- โคม่า
ต้องทานอาหารเสริมซีลีเนียมเพิ่มไหม?
ถ้าไม่มีความเสี่ยงว่าจะขาดซีลีเนียมจากอาหาร ก็ไม่จำเป็นต้องทานซีลีเนียมเสริม เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆมักแนะนำว่า ซีลีเนียม ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน บำรุงผมและเล็บ ไทรอยด์ รวมไปลดความเสี่ยงของมะเร็ง แต่ข้อมูลงานวิจัยที่มีเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจนและไม่ได้ข้อสรุป
โทษของซีลีเนียม ถ้าได้รับมากเกินไป
ปริมาณสูงสุดของซีลีเนียมที่ร่างกายได้รับ ต้องไม่เกิน 400 ไมโครกรัม/วัน ถ้าได้รับเกินอาจเกิดผลข้างเคียงกับร่างกายได้ โดยอาจมีอาการต่อไปนี้
- รู้สึกถึงรสชาติโลหะ
- คลื่นไส้ ปวดท้อง
- ผมร่วง
- เล็บเปราะ
- ผิวบวมแดงและลอก
- หงุดหงิด
ปริมาณซีลีเนียมที่แนะนำ
อายุ | ปริมาณที่แนะนำ/วัน |
---|---|
0-6 เดือน | 15 mcg |
7-12 เดือน | 20 mcg |
1-3 ปี | 20 mcg |
4-8 ปี | 30mcg |
9-13 ปี | 40 mcg |
14-18 ปี | 55 mcg |
19-50 ปี | 55 mcg |
51 ปีขึ้นไป | 55 mcg |
แหล่งอาหารที่มีซีลีเนียมสูง
- เนื้อสัตว์ เช่น สัตว์ปีก เนื้อแดง กุ้ง ปลาทู ปลาทูน่า ปลาจาระเม็ด หอยแครง หอยนางรม
- ผักผลไม้ เช่น กล้วย ลูกพีช ชะอม ผักกาดหอม สะเดา หน่อไม่ฝรั่ง แครอท หัวปลี ผักโขม
- อื่นๆ เช่น ถั่วบราซิล ถั่วเขียว ถั่วลิสง ขนมปังโฮลวีต ซีเรียล นม
ข้อมูลอ้างอิง
- https://ods.od.nih.gov/factsheets/Selenium-HealthProfessional/ (Accessed on: 23 May 2023)
- https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/selenium/ (Accessed on: 23 May 2023)
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK225470/ (Accessed on: 23 May 2023)