เชื่อว่าทุกคน น่าจะเคย รู้สึกพึ่งจะนอนเอง แต่อยู่ดีๆ ก็สะดุ้งตื่นขึ้นมา โดยเฉพาะตอนที่เรานอนไม่เป็นที่ หรือเผลอหลับตอนกำลังดูโทรทัศน์อยู่ อาจจะฝันว่าตกวูบจากที่สูงบ้าง ลื่นล้มบ้าง หรือตกบรรได เมื่อสะดุ้ง กล้ามเนื้อบางส่วนของร่างกายกระตุก รู้สึกวูบ หัวใจเต้นรัว หรือหายใจเร็ว และเหงื่อออก เพราะตกใจ สงสัยไหม สะดุ้งตื่นกลางดึก (Hypnic jerk) นอนแล้วกระตุก เกิดจากอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีแก้อาการนอนกระตุก และโรคนอนกระตุก อันตรายไหม หาคำตอบได้จากบทความนี้ ที่รวบรวมสาเหตุของอาการนอนกระตุกและวิธีป้องกันเบื้องต้นมาให้ได้อ่านกัน
เรามารู้จักกับนอนแล้วสะดุ้งหรือนอนแล้วกระตุก หรือเรียกอีกอย่างว่า (Hypnic jerk) คืออะไร เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายระหว่างนอนหลับที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจและไม่รู้ตัว หรือภาวะหดตัวของกล้ามเนื้อขณะนอนหลับอย่างกะทันหัน ทำให้เกิดสะดุ้งตื่นเวลานอน ซึ่ง hypnic ย่อมาจาก hypnagogic มีความหมายว่า สภาวะขณะกำลังจะหลับ ซึ่งอาจมีระดับความรุนแรงที่มากน้อยแตกต่างกัน เช่น บางคนมีอาการกระดิกนิ้วหัวแม่เท้า กระดิกเท้า หรือกระดิกนิ้วมือเป็นระยะ ๆ บางคนมีอาการรุนแรงถึงขั้นเตะถีบ ฟาดแขนฟาดขา หรือแม้กระทั่งกระตุกทั้งตัว จะรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ได้ อาจจะรู้สึกตัวแล้วก็หลับต่อ แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้สึกตัว หลายคนอาจสงสัยว่าอาการนอนสะดุ้งเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือเปล่าหากเกิดขึ้นบ่อย
โรคนอนกระตุก อันตรายไหม?
อาการกระตุกทำให้รู้สึกรำคาญและรบกวนการนอนหลับของเราและคนข้างๆ แต่ก็ไม่เป็นอันตราย แต่ถ้ามีการกระตุกรุนแรง จะทำให้ได้รับบาดเจ็บ ถ้าหากตอนหลับ สะดุ้งบ่อยๆ ทำให้รู้สึกนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอในตอนเช้าและง่วงในเวลากลางวันได้ อาการสะดุ้งหรือกระตุกจะมีประมาณ 70%
9 นอนแล้วกระตุก เกิดจากอะไรได้บ้าง
- ความเครียด ความวิตกกังวลก่อนการนอนหลับการอดนอน
- การได้รับยาบรรเทาอาการซึมเศร้า
- ปฏิกิริยาที่สับสนของสมอง
- เกิดจากโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ไต โรคเส้นเลือดในสมองตีบ
- การออกกำลังกายดึกเกินไป หรือหนักก่อนนอน
- การอดนอน นอนหลับไม่เพียงพอ และภาวะการนอนหลับที่ผิดปกติ
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป
- การสืบบุหรี่นั้นมีสารอย่างนิโคตินเป็นสารกระตุ้น
- การกินยาคลายเครียดบางชนิด
5 วิธีแก้อาการนอนกระตุก หรือนอนสะดุ้ง
- ทำกิจกรรมผ่อนคลายเบา ๆ ก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ เล่นโยคะ นั่งสมาธิเพื่อลดความเครียดและความกังวล
- เปลี่ยนเวลาในการออกกำลังกายไม่ให้ใกล้เวลานอนมากเกินไป ออกกำลังกายให้เสร็จก่อนเข้านอนอย่าน้อย 90 นาที
- งดดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง หรือลดปริมาณคาเฟอีนและงดคาเฟอีนในช่วงบ่ายไปจนถึงก่อนนอน
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และสารกระตุ้นอื่น ๆก่อนเข้านอน
- งดเล่นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ อย่างโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ท และคอมพิวเตอร์ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 30 นาที