Search
Close this search box.

กลไกทางจิต ไขรหัสใจ รู้ทันพฤติกรรมแปลกๆ

ภาพรวมเนื้อหา

รู้จักกลไกทางจิต

กลไกทางจิต (Defense Mechanism) เป็นกลไกที่จิตใจใช้รับมือกับความเครียด ความวิตกกังวล ความขัดแย้ง และความเจ็บปวด เป็นเครื่องมือป้องกันตนเอง ช่วยให้ปรับตัวหรือปกป้องตัวเองให้อยู่ในภาวะปกติ ไม่รู้สึกว่าถูกคุกคาม ป้องกันความแปรปรวนของสภาพจิตใจของตนเอง

โดยที่กลไกทางจิตจะทำงานโดยอัตโนมัติ โดยที่เราอาจไม่รู้ตัว กลไกเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทาย โดยกลไกนี้จะบิดเบือนความเป็นจริง ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรม เพื่อลดความตึงเครียดและความวิตกกังวล อย่างไรก็ตามไม่ควรเอากลไกทางจิตเพื่อเป็นข้ออ้างในการทำสิ่งที่ไม่ดีต่อตัวเองและผู้อื่น

บทความนี้เป็นบทความที่ดัดแปลงมาจาก กลไกทางจิต: บทความปริทัศน์ DEFENSE MECHANISM; REVIEW ARTICLE, วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 (มกราคม-มิถุนายน 2565) เขียนโดยต้นสาย แก้วสว่าง, ศิริรัตน์เอี่ยมประไพ และภาสกร คุ้มศิริ (ดาวน์โหลดฉบับเต็ม)

52 กลไกทางจิต

Acting Out

การแสดงออกทางพฤติกรรมที่สนองความพึงพอใจของบุคคลโดยที่ บุคคลนั้น ๆ จะไม่แสดงออกทางสีหน้าหรือความรู้สึกและบุคคลจะไม่ทราบถึงเป้าหมายของการ กระทำนั้น การใช้กลไก Acting Out ความรู้สึกของบุคคลจะถูกย้ายที่ (Displaced) จากสิ่งหนึ่งไปยัง สิ่งอื่น

ตัวอย่าง ชายคนหนึ่งโกรธเพื่อนร่วมงานในแผนกอย่างมากเลยไปทะเลาะวิวาทกับคนอื่นในบริษัทแต่ในใจก็ยังหวังว่าการทะเลาะวิวาทดังกล่าวคงไม่มีผลเสียไปถึงเพื่อนร่วมงานคนนั้นและชายคนดังกล่าวก็ไม่รู้ตัวว่าที่ตนเองทำลงไปมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

Affiliation

การยอมรับความช่วยเหลือจากผู้อื่น อาจเป็นด้านความคิดเห็นหรือ ด้านวัตถุ โดยจะยังรับรู้ปัญหาและไม่ถึงกับให้ผู้อื่นมารับผิดชอบแทน

ตัวอย่าง ชายคนหนึ่งไม่มี เงินจ่ายค่าโรงพยาบาลเพื่อรักษาบิดาที่ป่วย ต่อมาเพื่อนของเขาได้เสนอที่จะจัดการค่าใช้จ่ายทั้งหมด ให้ฟรี แต่ชายคนดังกล่าวก็ยังตั้งใจที่จะเก็บเงินเพื่อคืนให้เพื่อนของเขา

Altruism

การทำตามความต้องการหรือความรู้สึกของผู้อื่นโดยที่ตนเองก็มีความ พอใจที่จะทำหรือได้รับน้ำใจหรือรางวัลเป็นสิ่งตอบแทน

ตัวอย่าง ชายคนหนึ่งได้รับคำชวนของ หัวหน้าให้ไปช่วยงานจิตอาสาในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดพักผ่อนแต่ชายคนดังกล่าวก็ไม่ปฏิเสธ เนื่องจากตัวเขาเองก็มีความชื่นชมงานจิตอาสาอยู่เป็นทุนเดิมเพียงแต่ก่อนหน้านี้ไม่ได้คิดที่จะสนใจ หรือลงมือทำ

Anticipation

การคาดการณ์หรือการวางแผนล่วงหน้าอย่างมีเหตุผลถึงปัญหาที่จะ เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เป็นกลไกทางจิตที่มีทิศทางไปสู่เป้าประสงค์ (Goal-Directed) ทำ ให้มีการหาแนวทางแก้ไขปัญหาตามความเป็นจริง มีวางแผนอย่างรอบคอบในการเผชิญกับสิ่งที่น่า กลัว และผลที่ไม่ดีที่จะตามมา

ตัวอย่าง ชายคนหนึ่งวางแผนจะเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัด ในช่วงวันหยุดยาว เขาจึงศึกษาเส้นทางหลักไปการเดินทางและมองหาเส้นทางสำรองเพื่อป้องกัน ปัญหารถติดที่จะเกิดขึ้นและทำให้แผนการเที่ยวของเขาไม่เกิดความผิดพลาด เป็นต้น

Apathetic Withdrawal

การแสดงความรู้สึกเฉยเมยทางอารมณ์ เฉื่อยชา หรือไม่ แสดงความรู้สึก

ตัวอย่าง หญิงคนหนึ่งถูกพยาบาลถามถึงความรู้สึกหลังจากที่เธอประสบ อุบัติเหตุและสูญเสียสามีอันเป็นที่รักของเธอไป ปฏิกิริยาได้ตอบของเธอคือนิ่งเฉยไม่ตอบคำถามและ ไม่มีการแสดงความรู้สึกถึงความเสียใจ ไม่มีน้ำตาไหล เป็นต้น

Asceticism

การขจัดอารมณ์ที่น่าพึงพอใจออกไป ด้วยการพยายามบังคับ ตนเอง ไม่ให้เป็นไปตามความอยากจนเกินขอบเขต มีส่วนของค่านิยม คุณธรรมจริยธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างมาก

ตัวอย่าง หญิงคนหนึ่งมีเพื่อนร่วมงานมาแอบชอบเธอและพยายามที่จะสานสัมพันธ์กับเธอให้มากขึ้น ซึ่งตัวเธอเองก็ชอบเช่นกัน แต่เมื่อเธอรู้ว่าเขามีครอบครัวแล้ว ถึงเธอจะชอบและ อยากสานสัมพันธ์เพียงใด เธอต้องบอกตัวเองทุกครั้งว่ามันผิด ไม่สมควรทำ

Autistic Fantasy

การใช้การฝันกลางวัน (Day Dreaming) แทนการมีปฏิสัมพันธ์ กับผู้อื่นหรือแทนการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นความเพ้อฝัน (Fantasy) ซึ่งเป็นกระบวนการที่บุคคลผูกเรื่องขึ้นมาตามจินตนาการเพื่อสนองความต้องการของตน ความเพ้อฝัน และความฝันกลางวัน มักเป็น ตัวแทนของความต้องการ หรือความปรารถนาที่ไม่ขึ้นอยู่กับหลักแห่งความเป็นจริง สิ่งนี้อาจก่อให้เกิด ความสุข ความพอใจ ความชื่นชม และลดความเครียดในชีวิตประจำวัน และในบางโอกาสอาจนำไปสู่ กิจกรรมที่สร้างสรรค์ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าหมกมุ่นครุ่นคิดไปตามความเพ้อฝันจนเกินขอบเขตก็อาจ ผลเสียได้เช่นกัน

ตัวอย่าง หญิงอ้วนคนหนึ่งขอบฝันกลางวันว่าสักวันเธอจะมีหุ่นที่ผอมเพรียว ทำให้เธอมีความสุขและเป็นแรงกระตุ้นให้เธออยากลดน้ำหนัก ชายคนหนึ่งขอบฝันกลางวันอยากเป็น เศรษฐี แต่ไม่ยอมขยันทำงานมากขึ้นหรือหารายได้เพิ่มและไม่ยอมเปิดทางที่จะให้ตนเองก้าวหน้า ต่อไป หญิงสาวนั่งฝันถึงความรักอันหวานชื่น แต่ไม่ยอมควงกับชายหนุ่มคนไหนเลย เพราะแต่ละคนไม่ใช่ชายในอุดมคติของเธอ

Blocking

การที่บุคคลยับยั้งอารมณ์ ความรู้สึก และความคิด โดยอัตโนมัติเมื่อ ประสบกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด นอกจากนี้การ Blocking ยังอาจรวมถึงการยับยั้งความต้องการ หรือแรงขับ กลไก Blocking มีลักษณะใกล้เคียงกับกลไก Repression แต่การ Blocking มีลักษณะ เป็นการยับยั้งเพียงชั่วคราว

ตัวอย่าง ผู้หญิงคนหนึ่งนั่งนิ่ง คิดอะไรไม่ออก และไม่ตอบสนองต่อ บทสนทนาของแพทย์ไปชั่วขณะ หลังจากที่ได้ทราบผลวินิจฉัยว่าป่วยเป็นมะเร็งเต้านม

Controlling

การพยายามที่จะควบคุมเหตุการณ์รวมทั้งบุคคลหรืออย่างอื่นรอบตัว ให้ได้ตลอดเวลาโดยมีจุดสนใจเพื่อลดความวิตกกังวลและแก้ความขัดแย้งภายใน

ตัวอย่าง แม่ คนหนึ่งอยากให้ลูกเรียนหมอ เธอจึงเขี้ยวเข็นให้ลูกเรียนอย่างหนัก เรียนเสริมเมื่อมีเวลา เพราะเธอ เคยมีความฝันว่าอยากเรียนหมอ แต่เธอสอบไม่ผ่าน

Delusional Projection

การเกิดความหลงผิดโดยโทษคนอื่น เป็นการไม่ยอมรับ ความรู้สึกของตนเอง ใช้กลไกแบบโทษผู้อื่น (Projection) โดยจิตใจจะมองความรู้สึกหรือความ ต้องการของตนเองว่ามาจากภายนอก เป็นอาการทางจิตเวชอย่างหนึ่ง

ตัวอย่าง ชายคนหนึ่งชอบที่จะหยิบ ของของคนอื่น ขอบลักขโมย เมื่อเขาโดนตำรวจจับ เขาจะบอกว่ามีคนบอกให้เขาทำแบบนั้น เขาไม่ได้ อยากทำแต่ที่ทำเพราะมีคนสัง หรือ ผู้ป่วยคิดว่าตนเองเป็นเทพเจ้ามีอำนาจวิเศษและตอนนี้กำลังมีคน ติดตามตัวเขาอยู่เพื่อที่จะอยากได้พลังนั้น

Denial

การปฏิเสธไม่ยอมรับความจริง เพราะการรับรู้ทำให้มีผลกระทบกระเทือน ต่อจิตใจอย่างรุนแรงจนไม่สามารถยอมรับได้ เกิดความทุกข์ใจ จึงทำให้บุคคลนั้นไม่ยอมรับรู้สิ่งที่เกิด ขึ้นกับตน การที่บุคคลจัดการกับความขัดแย้งทางอารมณ์หรือสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดทั้งภายในหรือภายนอก โดยการปฏิเสธที่จะรับรู้บางสิ่งที่ทำให้ปวดร้าวจากความจริงที่เกิดขึ้น และความรู้สึกส่วนตัว ที่ไม่อยากให้ผู้อื่นรู้ คำว่า Psychotic Denial ใช้เมื่อการทดสอบความจริง (Reality Testing) ของ บุคคลเสื่อมเสียอย่างมาก สิ่งที่ถูกปฏิเสธอาจเป็นความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ความจำ หรือการรับรู้ (Perception) ที่กระทบกระเทือนใจอย่าง

ตัวอย่าง ชายคนหนึ่งปวดท้องอย่างแรง เมื่อไปตรวจ แพทย์แจ้งว่าเขาเป็นมะเร็ง เขาไม่เชื่อและไม่ยอมปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

Devaluation

หมายถึงการประเมินคุณค่าของตนเองหรือผู้อื่นต่ำกว่าความเป็นจริง พบใน ผู้ป่วย Depression หรือ Paranoid Personality Disorder บุคคลที่ใช้กลไก Devaluation จัดการกับความขัดแย้งทางอารมณ์ หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดทั้งภายนอกหรือภายในโดยการอ้าง คุณสมบัติที่ไม่ดีเกี่ยวกับตนเอง หรือผู้อื่นมากจนเกินไป เป็นกลไกทางจิตที่พบบ่อยใน Narcissistic และ Borderline Personality Disorder

ตัวอย่าง เด็กนักเรียนคนหนึ่งอ่านหนังสือเพื่อจะ สอบเข้าเรียนในคณะแพทย์ศาสตร์ แต่เขากลับมีความคิดว่าตนเองไม่สามารถสอบให้ติดได้อย่าง แน่นอน เพราะเขายังอ่านหนังสือได้น้อยและความจำไม่ได้ เป็นต้น

Devaluation Self

มีความหมายเหมือน Devaluation เพียงแต่จําแนกเจาะจงว่าเป็น การทำให้คุณค่าต่อตนเองลดลง

ตัวอย่าง เด็กผู้หญิงคนหนึ่งคิดว่าตัวเองตัวดำ หน้าตาไม่ดี เธอ จึงไม่มั่นใจในตนเอง ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วรูปร่างหน้าตาของเธอไม่ได้แย่เหมือนที่เธอคิด เป็นต้น

Devaluation Other

เช่นเดียวกับ Devaluation Self กล่าวคือมีความหมายเหมือน Devaluation เพียงแต่จำาแนกเจาะจงว่าเป็นการทำให้คุณค่าของผู้อื่นลดลง

ตัวอย่าง เด็กผู้หญิงฝาแฝดคู่หนึ่ง แฝดพี่มักจะดูหมิ่นแฝดน้องว่าเรียนไม่เก่ง ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วแฝดน้องก็ ไม่ได้เรียนแย่เหมือนที่เธอคิด

Displacement

หมายถึงการเปลี่ยนหรือการย้ายอารมณ์ความรู้สึกหรือการตอบสนองที่ทำ ให้เกิดความไม่สบายใจต่อบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปยังบุคคลหรือสิ่งอื่นซึ่งคุกคามน้อยกว่าแทน

ตัวอย่าง คนงานคนหนึ่งเกิดความโกรธหัวหน้างานอย่างมาก แต่ไม่กล้าแสดงความรู้สึกออกมา พอกลับถึงบ้านก็แสดงอารมณ์เกรี้ยวกราดกับภรรยาและพวกลูก ๆ หรือ หญิงสาวที่ถูกสลัดรักจาก คู่หมั้นกลับเปลี่ยนความรัก และความผูกพันไปยังชายหนุ่มคนอื่น

Dissociation

เป็นกลโกที่ทำให้บุคคลมี ภาวะสติสัมปชัญญะ ความจำ ความคิด การรับรู้ เกี่ยวกับตนเอง และ การรับรู้สภาพแวดล้อมเสียไป อาจก่อให้เกิดบุคลิกภาพใหม่โดยที่บุคลิกใหม่ ไม่ขึ้นกับบุคลิกภาพเดิม มักพบในผู้ป่วยโรคดิสไซสิเอทีฟ (Dissociative Disorder)

Distortion

หมายถึง การที่บุคคลบิดเบือนความจริง หรือเปลี่ยนแปลงความจริงจากโลก ภายนอกเพื่อให้เข้ากับความต้องการหรือความรู้สึกภายในของตน รวมถึงการเชื่ออย่างฝังลึกโดยขาด เหตุผล จนเกิดอาการประสาทหลอนและอาการหลงผิด

ตัวอย่าง หญิงสาววัยรุ่นคนหนึ่งถูกแฟนบอกเลิกและย้ายออกไปอยู่ที่อื่น แต่ทำใจไม่ได้ เมื่อมีคนถามถึงแฟน หญิงสาวจะบอกว่ายังรักกับดีแค่ตอนนี้ แฟนไปทำงานต่างจังหวัด

Externalization

เป็นกลไกทางจิตที่มาจากจิตไร้สำนึกซึ่งเป็นกลไกที่บุคคลจะปลดปล่อย ความคิด อารมณ์ และ ความรู้สึกภายในของตนออกมา โดยบุคคลจะไม่รับรู้ว่า ความคิด อารมณ์ และ ความรู้สึกดังกล่าวเป็นของตน แต่บุคคลจะฉายภาพ (Projection) ความคิด อารมณ์ และ ความรู้สึก ดังกล่าวไปสู่บุคคลอื่น

ตัวอย่าง ผู้ป่วยที่มีลักษณะนิสัยชอบตำหนิอาจจะมองบุคคลอื่นเป็นคนที่ ชอบตำหนิบุคคลอื่นในขณะที่มองตนเองเป็นคนไร้ที่ติ

Fantasy

ความเพ้อฝันซึ่งเป็นกระบวนการที่บุคคลสร้างเรื่องขึ้นมาตามจินตนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตน ความเพ้อฝัน (Fantasy) และความฝันกลางวัน (Day Dream) มักเป็นตัวแทนของความต้องการหรือความปรารถนาที่ไม่ขึ้นอยู่กับหลักแห่งความเป็นจริง (Reality Principle) อาจก่อเกิดความสุข ความพอใจ ความชื่นชม และลดความเครียดในชีวิตประจำวัน หรือใน บางครั้งอาจนำ ไปสู่กิจกรรมที่สร้างสรรค์ได้ อย่างไรก็ตามถ้าหากหมกมุ่นครุ่นคิดไป ตามความเพ้อฝัน จนเกินขอบเขตก็อาจเกิดผลเสียได้ เข้าทำนอง “สร้างวิมานในอากาศ”

Hypochondriasis

การเปลี่ยนสภาพแรงกดดันไปเป็นอาการทางร่างกายชนิด ต่าง ๆ รวมทั้งความเจ็บป่วย มีความคิด หมกมุ่นอยู่กับความเจ็บป่วยทางร่างกาย กลัวว่าจะเป็นโรค ร้ายแรงอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องการการรักษา เพื่อหลีกเลี่ยงและถดถอยจากปัญหาโดยไม่ต้อง รับผิดชอบและไม่ต้องเผชิญกับปัญหาที่แท้จริง

ตัวอย่าง เด็กชายคนหนึ่งรู้สึกกดดันและไม่ ปลอดภัยเป็นอย่างมากขณะอยู่ที่โรงเรียนแต่ต้องไปโรงเรียนทุก ๆ วัน เมื่อเวลาผ่านไปความกดดันที่ สะสมมาเริ่มเปลี่ยนสภาพแรงกดดันไปเป็นอาการทางร่างกาย เด็กชายเริ่มป่วยบ่อย บอกกับมารดา ตลอดว่าตนไม่ค่อยสบาย มีอาการต่าง ๆ มากมาย เรียกร้องที่จะไปพบแพทย์ตลอดเวลาซึ่งเด็กผู้ชาย คนดังกล่าวไม่ได้แกล้งทำแต่อย่างใดแต่เป็นการใช้กลไก Hypochondriasis โดยไม่รู้ตัว

Help-rejecting Complaining

หมายถึง การพร่ำบ่นหรือขอความช่วยเหลือซ้ำ ๆ โดยที่ บุคคลจะบิดเบือนความรู้สึกที่แท้จริง แสดงการต่อต้าน แสดงความไม่พอใจ หรือตำหนิผู้อื่น จากนั้น จึงปฏิเสธคำแนะนำหรือความช่วยเหลือที่ผู้อื่นเสนอให้

ตัวอย่าง พนักงานบริษัทคนหนึ่ง มี เอกสารวางอยู่บนโต๊ะแบบไม่เป็นระเบียบเต็มโต๊ะ ในทุกวัน ๆ เธอจะบ่นว่างานของเธอเยอะ เธอไม่ สามารถทำคนเดียวให้เสร็จได้ แต่เมื่อมีเพื่อนร่วมงานเสนอตัวจะช่วยเธอและแนะนำให้เธอจัด ความสำคัญของงาน เธอกลับปฏิเสธความช่วยเหลือและคำแนะนำเหล่านั้น เป็นต้น

Humor

เป็นการแสดงอารมณ์ขันโดยเบี่ยงปัญหาให้เป็นเรื่องขำขันแทน การใช้อารมณ์ที่ ตลกขบขันเป็นการกระทำเพื่อแสดงความรู้สึกหรือความคิดออกมาซึ่งบุคคลที่ใช้กลไก Humor ก็ไม่ รู้สึกกังวลกับปัญหาจริงๆ

Idealization

เป็นกลไกที่บุคคลใช้จัดการกับความขัดแย้งทางอารมณ์ หรือสิ่งที่ทำให้เกิด ความเครียดทั้งภายนอกหรือภายในโดยการอ้างคุณสมบัติที่ดีงามเกี่ยวกับตนเองหรือผู้อื่นมาก จนเกินไป เช่น การคิดไปเองว่าผู้อื่นมีท่าทีด้านบวกหรือทำดีต่อตนเองมากผิดปกติ Idealization เป็น กลไกที่มักพบใน Narcissistic และ Borderline Personality Disorders

Identification

หมายถึงการเลียนแบบผู้อื่นโดยการเลียนแบบบุคลิกลักษณะ ลักษณะ ท่าทาง รวมทั้งเอกลักษณ์ (Identity) อื่น ๆ ของบุคคลอื่นนอกจากนี้การเลียนแบบค่านิยม หรือเจด คติก็ถือเป็น identification ได้

ตัวอย่าง นักเรียนชายบอกคุณพ่อให้ซื้อโทรศัพท์เหมือนกับที่เพื่อนคนอื่น ๆ นิยมใช้กัน

Incorporation

เป็นกลไกทางจิตแบบดั้งเดิมชนิดหนึ่งหมายถึง การรับรู้ว่าตนเองรวมกัน เป็นหนึ่งกับบุคคลที่รักหรือสิ่งของที่รักผ่านการสัมผัสทางร่างกาย กลไก Incorporation เป็นกลไกที่ เกิดในพัฒนาการขั้นที่ 1 ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะปาก (Oral Stage) ของพัฒนาการความ ต้องการทางเพศและบุคลิกภาพ (Psychosexual Stages of Personality Development) โดย ทารกที่ดูดนมแม่จะรู้สึกว่าเต้านมของแม่เป็นร่างกายทั้งหมดของแม่ ในขณะที่ตนดูดนมแม่นั้นทารกจะ รู้สึกว่าแม่กำลังเป็นส่วนหนึ่งของตัวเขาเอง กลไก Incorporation ถือเป็นกลไกพื้นฐานที่จะพัฒนาไปสู่ กลไก identification และ การโทษตนเอง (Introjection)

Inhibition

Inhibition หรือ Aim Inhibition เป็นการจัดการกับสัญชาตญาณความต้องการที่มี ข้อจำกัดให้เหมาะสมและใกล้เคียงเป้าหมายมากที่สุด

ตัวอย่าง ขายคนหนึ่งต้องการเป็นแฟน กับหญิงสาวที่เป็นนางแบบ เมื่อเวลาผ่านไปชายคนนั้นเริ่มพบว่าตนเองคงไม่สามารถทำตามดังที่หวัง จึงตัดสินใจเลือกคงสถานะความสัมพันธ์แบบเพื่อน อีกหนึ่งตัวอย่างที่พบในชีวิตจริงบ่อย ๆ ได้แก่ นักศึกษาที่อยากจะเป็นแพทย์ตัดสินใจที่จะเป็นผู้ช่วยแพทย์เนื่องศักยภาพของตนมีจำกัด

Intellectualization

มีการใช้ความคิดแบบนามธรรมหรือความคิดในเชิงปรัชญาเพื่อลด ความรู้สึกไม่สบายใจโดยไม่ลงลึกถึงรายละเอียดของปัญหาหรือดูความเป็นจริง

Introjection

การรับเอาภาพหรือความคิดความรู้สึกหรือลักษณะของบุคคลอื่น จากภายนอกเข้ามาไว้ในตัวเอง เช่น แทนที่จะแสดงความโกรธต่อคนอื่นกลับรับเอาความรู้สึกก้าวร้าว ที่ไม่ดีมาไว้ในตัวเอง หรือการรับเอาความรู้สึกผิดจากคนอื่นเข้าสู่ตนเป็นการโทษตัวเอง เป็นต้น

Isolation

การที่บุคคลมีบุคลิกภาพแบบแบ่งแยกตนเองออกจากสังคม หลบเลี่ยง หรืออาจเป็นการแบ่งส่วนประกอบทางอารมณ์ออกจากความคิด การแยกความรู้สึกออกจากเรื่องราว สำคัญทำให้กดความรู้สึกหรือความคิดที่เข้ามารบกวนจิตใจ

ตัวอย่าง หญิงสาวขายบริการในสถานบริการ ต้องรับแขก ต้องเผชิญกับความรู้สึกทางลบมากมายจนในขณะที่ทำงานรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นร่างที่ไร้วิญญาณ กล่าวคือ สาวบริการได้แยกอารมณ์ ความรู้สึก และ ความคิด ออกไปยึดติดกับสถานการณ์อื่น ๆ ในจิตนาการไปแล้ว

Isolation of Affect

ความหมายเดียวกับ Isolation คือเป็นกลไกที่บุคคลใช้วิธีการ แบ่งแยกส่วนประกอบทางอารมณ์ (Emotional Components) หรืออารมณ์ ออกจากความคิด หรือ แยกความคิดออกจากอารมณ์ ทำให้กดเก็บความคิดหรือความรู้สึกที่มารบกวนจิตใจได้

ตัวอย่าง สัปเหร่อ จัดการศพโดยไม่มีความคิดเกี่ยวกับความตายหรือความกลัวเข้ามารบกวนเลย Isolation of Affect เป็นกลไกทางจิตที่พบบ่อยในโรคประสาทชนิดย้ำคิดย้ำทำ

Omnipotence

เป็นกลไกที่ทำให้บุคคลมีความรู้สึกหรือมีการกระทำว่าตนมีอำนาจหรือมี ความสามารถพิเศษเหนือผู้อื่น ยกตัวอย่าง

ตัวอย่าง ชายคนหนึ่งเข้าแข่งขันก็หาโดยไม่มีความกดดันใด ๆ เนื่องจากมีความคิดว่าตนเองเก่งกว่าบุคคลอื่น ๆ และการเอาชนะบุคคลอื่นเป็นเรื่องง่าย ๆ

Passive Aggression

Passive Aggression หรือ Passive Aggressive หมายถึงการที่บุคคลจัดการกับความ ขัดแย้งทางอารมณ์หรือสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดทั้งภายในและภายนอก โดยแสดงท่าทียอมผ่อนปรน เพื่อปิดบังความรู้สึกต่อต้าน ขุ่นเคือง ความโกรธ ความไม่พอใจ ความอาฆาต หรือไม่เป็นมิตรเอาไว้ใน ใจ แต่เมื่อดูภายนอกจะแสดงลักษณะของการยินยอมหรือการเชื่อฟัง กลไกทางจิตชนิดนี้มักเกิดขึ้น เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการเรียกร้องสำหรับการกระทำที่เป็นอิสระโดยไม่ต้องพึ่งใคร

ตัวอย่าง ชายหนุ่มคนหนึ่งพูดกับเพื่อนที่เอาเสื้อผ้ามาฝากไว้ว่า “เสียใจด้วยเพื่อน เพิ่งบริจาคเสื้อผ้า ทั้งหมดให้กับมูลนิธิช่วยเหลืออุทกภัยภาคได้ไปเมื่อสองวันก่อน คิดว่านายคงไม่ต้องการอีกแล้ว” หรือ ผู้ป่วยที่ไม่พอใจหรือมีความต้านทาน (Resistance) ต่อผู้รักษา พูดจากับผู้รักษาดีแต่มักมาช้ากว่าเวลา ที่นัดไว้เป็นเวลานานอยู่บ่อยๆ เป็นต้น

Projection

การโยนความผิดให้ผู้อื่นหรือโทษผู้อื่นแทน เป็นการซัดทอดความคิด ความรู้สึก หรือแรงขับที่ไม่น่าพึงปรารถนาไปให้ผู้อื่น เพื่อป้องกันตนเองให้พ้นผิด ถ้าใช้บ่อย ๆ อาจ เป็น Delusional Disorder เช่นเดียวกับ Denial เป็นกลไกทางจิตที่มักพบในโรคจิต แต่ก็อาจพบได้ ในโรคประสาท และบุคลิกภาพแปรปรวน เป็นกลไกทางจิตที่ก่อให้เกิดอาการหลงผิด และประสาท หลอน และถ้าใช้มากจนเกินขอบเขตของความเป็นจริง มักเกิดอาการระแวง ซึ่งพบได้ใน Delusional Disorders และ Paranoid Schizophrenia โดยทั่วไปการขัดทอดความรู้สึกที่ตนเองยอมรับไม่ได้ไป ยังผู้อื่น เช่น อคติ ความระแวง ความไม่ไว้วางใจ ความระแวดระวัง ภยันตรายจากภายนอก และ ความไม่ยุติธรรม รวมทั้งแรงขับทางเพศ กลไกการโทษผู้อื่น (Projection) มีความสัมพันธ์กับกลไกการ โทษตนเอง (Introjections) ในลักษณะที่ว่า สิ่งที่ถูกซัดทอดไปนั้น มักจะสะท้อนกลับและมีการรับเอา เข้ามาไว้ในตัวโดยกลไกการกำหนดรู้ภายใน (Internalization) ในระดับที่สูงกว่า Projection อาจ แสดงออกมาในรูปของการตีความหมายแรงขับ เจตคติ ความรู้สึกหรือเจตนารมณ์ ของผู้อื่น ในเชิงลบ

Projective Identification

เป็นการโยนความผิดให้ผู้อื่นหรือโทษผู้อื่นแทน ต่างกับ projection เนื่องจากบุคคลยังคงตระหนักรู้ความรู้สึกหรือรู้ถึง Impulse ของตน แต่ไม่ยอมรับมัน เพื่อจะได้โยนความผิดให้กับผู้อื่นได้

Pseudo-Altruism

การเสียสละแบบปลอม ๆ ไม่จริงใจ ยกตัวอย่างเช่น บน รถไฟฟ้า BTS ชายคนหนึ่งจำเป็นต้องลุกจากที่นั่งเพื่อเสียสละให้คุณยายที่มีอายุมากนั่งแทน ซึ่งใจจริง แล้วไม่ได้อยากจะทำแบบนั้นเลย

Psychotic Denial

เป็นการปฏิเสธความจริงและไม่อยู่กับความเป็นจริง แต่จะสร้าง จินตนาการหรือความหลงผิดมาแทนที่ความเป็นจริงที่ตนไม่ยอมรับแทน

ตัวอย่าง เศรษฐีคน หนึ่งสูญเสียบุตรชายจากอุบัติเหตุ เศรษฐีคนดังกล่าวไม่สามารถยอมรับความจริงได้จึงหลอกตนเองว่า ลูกชายของตนได้ไปทำงานที่ต่างประเทศจึงไม่สามารถมาอยู่กับเขาได้ จนในที่สุดความคิดนั้นก็ฝังลึก จากการหลอกตัวเองก็กลายเป็นอาการหลงผิด

Psychotic Distortion

เป็นกลไกที่บุคคลจะบิดเบือนความเป็นจริงให้เหมาะกับความรู้สึก ในจิตใจของตนทั้งในรูปของความหลงผิด จินตนาการ หรือประสาทหลอน เพื่อให้มีความสุขต่อไปกับ ความรู้สึกของตน

ตัวอย่าง ชายคนหนึ่งโกหกจนเป็นนิสัย และบิดเบือนความเป็นจริงว่า “ทุกคนในโลกนี้ก็ โกหกกันทุกวันและโลกนี้เป็นโลกแก่การโกหก” เพื่อให้ตนเองรู้สึกว่าพฤติกรรมการโกหกของตนเองไม่ เป็นปัญหา

Rationalization

ปกปิดการกระทำหรือความรู้สึกแท้จริงซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งด้วยการ หาเหตุผลที่ตนรู้สึกว่าดีและเป็นที่ยอมรับของสังคมแทนเหตุผลที่แท้จริงของพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อให้ตนรู้สึกดี บางกรณีการกระทำดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้ไม่ให้รู้สึกเสีย หน้าหรืออับอายคนอื่น การหาเหตุผลเข้าข้างตนมีจุดประสงค์อยู่สองอย่าง คือ

  1. ช่วยลดความผิดหวัง เมื่อบุคคลไม่สามารถไปถึงเป้าหมายที่ต้องการ
  2. เป็นเหตุผลในการรองรับพฤติกรรมของบุคคล โดยใช้วิธีการการอ้างเหตุผลที่ดี (Good Reason) แทนที่จะเป็นเหตุผลที่แท้จริง (True Reason)

Reaction formation

เป็นการแสดงพฤติกรรม ความคิด ความรู้สึกในทางตรงกันข้ามโดย สิ้นเชิงกับแรงขับที่อยู่ภายในส่วนลึกของจิตใจ เนื่องจากแรงขับหรือพลังผลักดันอาจไม่เป็นที่ยอมรับ โดยตนเองหรือผู้อื่น

ตัวอย่าง หญิงคนหนึ่งหนึ่งมีความรู้สึกดีทางเพศกับเพื่อนร่วมงานแต่พอพบชายคนนี้ที โรกลับพยายามเลี้ยงที่จะพูดคุยด้วย กลไก Reaction Formation เป็นโกทางจิตที่พบบ่อยในโรค ประสาทชนิดย้ำคิดย้ำทำ

Regression

หมายถึงการถดถอยหรือการถอยกลับของอีโก้ (Ego) ไปสู่ระยะเริ่มต้นหรือ ระยะแรก ๆ ของพัฒนาการความต้องการทางเพศและบุคลิกภาพ (Psychosexual Stages of Personality Development) เมื่อต้องเผชิญกับความขัดแย้งหรือความคับข้องใจ โดยทั่วไปการถดถอยมักจะดำเนินกลับไปสู่จุดชะงักงันของพัฒนาการบุคลิกภาพ

ตัวอย่าง พนักงานบริษัทคนหนึ่งเครียด มากจนนอนฉี่รดที่นอนตลอดทั้งสัปดาห์เนื่องจากถูกกดดันให้ลาออก

Repression

เป็นการกดเก็บความรู้สึก ทำให้ลืมแต่จะลืมเฉพาะเรื่องที่มากระทบจิตใจ เป็นไปโดยการทำงานของจิตไรสำนึก (Unconscious) ทำให้บุคคลไม่รู้สึกตัว

ตัวอย่าง ชายคนหนึ่งลืมว่า เคยถูกเพื่อนแกล้งดึงกางเกงหน้าห้องเรียน

Schizoid Fantasy

การโน้มเอียงที่จะใช้ความเพ้อฝันหรือใช้จินตนาการ และถอย หนีไปสู่โลกของจินตนาการของตนเอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อขจัดความขัดแย้งและสนองความพึงพอใจ บางอย่างโดยไม่ต้องมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้อื่น

ตัวอย่าง แม่คนหนึ่งสูญเสียลูกเพราะเธอสุขภาพไม่ดี ทารกตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เธอเสียใจมากปิดตัวอยู่คนเดียวและพูดคุยกับตุ๊กตาตลอดเวลาเพราะเธอ คิดว่าตุ๊กตาคือลูกของเธอ

Self-Assertion

ให้ความมั่นใจตนเองว่าเหตุการณ์ไม่เลวร้ายอย่างที่คิดและตนสามารถแก้ไข ได้โดยบุคคลจะแสดงความรู้สึกและความคิดอย่างตรงไปตรงมา

ตัวอย่าง เลขาคนหนึ่งทำแฟ้ม งานของหัวหน้าหายแต่เลขาคนนั้นก็ไม่วิตกกังวลจนเกินไปและอีกยังสารภาพกับหัวหน้าไปตามจริง โดยไม่โกหก อีกทั้งเลขาคนนั้นยังมั่นใจว่าตนเองจะรับผิดชอบปัญหาที่เกิดได้

Self-Observation

เป็นการสังเกตตนเองหรือสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ พิจารณาปัญหา อย่างละเอียดเพื่อหาทางแก้ไข และการตอบสนองอย่างเหมาะสม

ตัวอย่าง พนักงานคนหนึ่งถูกหัวหน้าสั่ง พักงานโดยไม่ชี้แจงรายละเอียด แทนที่จะตีโพยตีพายพนังงานคนดังกล่าวกลับตั้งสติและพยายาม ทบทวนตนเองว่าทำอะไรผิดพลาด

Sexualization

เป็นกลโกที่เปลี่ยนประสบการณ์ที่เจ็บปวดหรือน่าหวาดกลัวไปเป็นสิ่ง กระตุ้นเร้าให้เกิดความพึงพอใจทางเพศ ความรู้สึกกลัวที่จะถูกทอดทิ้งหรือทำร้ายมักเป็น ประสบการณ์ที่กลไกนี้มักนำมาเปลี่ยนเป็นความพึงพอใจทางเพศ

ตัวอย่าง บุคคลที่มีรสนิยม ทางเพศแบบ Sadism และ Masochism

Somatization

หมายถึง การที่ความขัดแย้งทางจิตใจถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นอาการทาง ร่างกาย ซึ่งถูกควบคุมโดยระบบประสาท Sympathetic และ Parasympathetic System เป็นกลไก ทางจิตที่สำคัญสำหรับโรคจิตสรีระแปรปรวน (Psycho physiologic Disorders) หรือ โรคกายเหตุ จิต (Psychosomatic Disorders)

ตัวอย่าง คนที่ชอบแข่งขันกับคนอื่น และพยายามเก็บกดความรู้สึก โกรธเอาไว้ ต่อมาอาจเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ หรือนักเรียนหญิงคนหนึ่งจะมีอาการปวดท้องทุก ครั้ง เมื่อจะต้องเริ่มต้นบทสนทนาภาษาอังกฤษกับเพื่อนต่างชาติ ความขัดแย้งทางจิตใจดังกล่าวมักจะ แสดงออกด้วยอาการทางกายมากกว่าจิตใจ

Splitting of Self-Image

Splitting of Self-Image หรือ Image of Others คือ การที่บุคคลไม่สามารถมองข้อดี หรือข้อเสียของตนเองหรือผู้อื่นในภาพรวมได้ โดยจะมองไปในทางสุดโต่ง ไม่ดีก็ร้าย สัมพันธภาพที่ เกี่ยวกับความรักจะถูกแยกออกจากส่วนที่เกี่ยวกับความเกลียด เมื่อเกิดความรู้สึกทางบวก ความรู้สึก เชิงลบจะถูกขจัดออกไป กล่าวคือ จะมีการแบ่งอย่างสุดใต่งออกเป็นดีหมด และเลวหมด และไม่มีการ ยอมรับสัมพันธภาพแบบสองฝึกสองฝ่าย (Ambivalent Relationship) หรือแบบที่มีดีและไม่ดีของ ตนเองและผู้อื่นคละกัน เช่น เมื่อคนเราผิดหวังหรือ ไม่ได้รับการยอมรับจากอีกคนหนึ่งเราจะมองคนๆ นี้ว่าไม่ดีโดยไม่คำนึงถึงส่วนที่ดีของเขาบ้าง ไม่สามารถรวมเอาส่วนที่ดี กับส่วนที่ไม่ดีไว้ในคน ๆ เดียวกันได้ ตัวอย่างของการใช้กลไก Splitting of Self-Image หรือ Image of Others เห็นได้ชัดใน การทำครอบครัวบำบัด เมื่อสัมพันธภาพระหว่างคนสองคนถึงจุดเดือด วุ่นวาย และก่อให้เกิดปัญหา ต่างฝ่ายต่างก็พูดแต่ความเลวร้ายต่างจากการคบกันในช่วงแรกๆ

Sublimation

คือการหาทางระบายแรงขับสัญชาตญาณ (Instinctual Drives) ไปสู่ กิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นที่ยอมรับของสังคมกล่าว คือ เปลี่ยนความรู้สึกไม่ดีหรือไม่ถูกต้องไปเป็น พฤติกรรมที่สังคมยอมรับ เช่น บุคคลที่มีแรงขับความก้าวร้าวผันตนเองสู่การเป็นนักมวยมมืออาชีพ เพื่อแสดงพฤติกรรมความรุนแรงได้โดยที่สังคมยอมรับ กลไก Sublimation เป็นไกทางจิตที่มี ประสิทธิภาพและก่อให้บุคคลประสบความสำเร็จ มักพบได้ในบุคคลที่บรรลุวุฒิภาวะแล้ว

Suppression

Suppression หรือ การกดระงับ เป็นการหลีกเลี่ยงที่จะคิดเกี่ยวกับปัญหา ความรู้สึก หรือ การรับรู้ที่รบกวนจิตใจ เป็นการทำงานในระดับจิตสำนึกซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับการเก็บกดต่างกัน ที่ว่า การกดระงับเป็นการพยายามลืมที่กระบวนการของจิตสำนึกและเกิดขึ้นโดยตั้งใจ การกดระงับ อาจนำไปสู่การเก็บกดได้

ตัวอย่าง ชายคนหนึ่งคิดถึงการลาพักร้อนหยุดยาวในวันถัดไปจนไม่เป็นอัน ทำงานต่อไป เลยข่มใจเลิกคิดเรื่องการลาพักร้อนจนกระทั่งเลิกงาน

Symbolization

การใช้วัตถุสิ่งของหรือการกระทำบางอย่างเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่ง ที่ไม่เป็นที่ยอมรับของตนเองหรือสังคม สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์มักจะเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นสากล เช่น งู ปืน ปากกา เป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย เป็นต้น

Undoing

การพยายามลบล้างแรงผลัก (Impulse) แก้ไข หรือชดเชยความคิด ความรู้สึกที่ไม่ตีด้วยการกระทำที่มีความหมายในเรื่องนั้น เพื่อลบล้างการกระทำเดิมซึ่งไม่เป็นที่ ยอมรับโดยตนเองหรือสังคม กลไก Undoing มีลักษณะและส่วนใกล้เคียงกับ กลไกการกระทำที่ ตรงกันข้าม (Reaction Formation)

ตัวอย่าง ชายคนหนึ่งถูกเพื่อนขอร้องให้เขียนคำแนะนำเพื่อไปสมัคร งาน แต่เขาเขียนไม่ดี เลยทำให้เพื่อนไม่ได้งาน ต่อมาเขาไปเยี่ยมเพื่อนคนนี้ที่บ้านพร้อมด้วยของขวัญ หลายอย่างแทน กลไก Undoing เป็นกลไกทางจิตที่สำคัญอย่างหนึ่งในโรคประสาทชนิดย้ำคิดย้ำทำ

Withdrawal

การถอยหนีเพื่อลดความกลัว ความวิตกกังวล และความเครียด โดย การหลีกหนีออกจากสถานการณ์ ตัวบุคคล และสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดความรู้สึกดังกล่าว กลไก Withdrawal มักก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีเนื่องจากบุคคลจะไม่สามารถแก้ไขหรือเผชิญหน้ากับ ปัญหา และถ้าบุคคลนำกลไก Withdrawal มาใช้บ่อยจะกลายเป็น คนไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบพูดคุย และไม่สามารถอยู่ในโลกของความเป็นจริงก่อให้เกิดอาการทางจิตได้

ตัวอย่าง เด็กนักเรียนหญิงคนหนึ่งขอ ผู้ปกครองย้ายโรงเรียนเพราะเข้ากับเพื่อนไม่ได้

บทความแนะนำ

ติดตามพวกเราได้ที่
ME AND YOU ENTERTAINMENT CO., LTD.
เลขที่ 111 ถนนประเสริฐมนูกิจ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม. 10240
แจ้งปัญหา/ฝากข่าว [email protected]
ภาพรวมเนื้อหา