กรดอะมิโน 20 ชนิดที่มีความสำคัญในการเจริญเติบโตและการทำงานของร่างกาย บางชนิดร่างกายสามารถสร้างได้เองและบางชนิดจำเป็นต้องได้รับจากอาหาร โดยกรดอะมิโนแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
- กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด
- กรดอะมิโนไม่จำเป็น 11 ชนิด
กรดอะมิโน | หน้าที่ |
---|---|
Alanine (อะลานีน) | เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญน้ำตาลและกรด ให้พลังงานแก่เนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ สมอง และระบบประสาทส่วนกลาง |
Arginine (อาร์จีนีน) | การแบ่งเซลล์ การสมานแผล การทำงานของภูมิคุ้มกัน การปล่อยฮอร์โมน |
Asparagine (แอสพาราจีน) | สลายแอมโมเนียที่เป็นพิษภายในเซลล์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนโปรตีน |
Aspartic Acid (กรดแอสปาร์ติก) | ช่วยให้ทุกเซลล์ในร่างกายทำงานได้ปกติ มีบทบาทในการสร้างและปลดปล่อยฮอร์โมน |
Cysteine (ซีสเตอีน) | ซีสเตอีนเป็นกรดอะมิโนหลักในเคราตินซึ่งเป็นโปรตีนหลักที่เล็บ เส้นผม และชั้นหนังกำพร้าสร้างจากผิวหนัง นอกจากนี้ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างคอลลาเจนที่รองรับชั้นผิวหนังที่ลึกกว่าและโครงสร้างอื่นๆ ของร่างกาย |
Glutamic acid (กรดกลูตามิก) | สารสื่อประสาทที่มีมากที่สุดในสมองและระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยสร้างการเรียนรู้และความจำ |
Glutamine (กลูตามีน) | กลูตามีนเป็นกรดอะมิโนที่มีประโยชน์และหลากหลายที่สุดในร่างกาย ซึ่งมีความสำคัญต่อการเผาผลาญอาหาร |
Glycine (ไกลซีน) | มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตและสุขภาพของเซลล์ จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและบำรุงรักษาเนื้อเยื่อ และสร้างสารสำคัญ เช่น ฮอร์โมนและเอ็นไซม์ |
Histidine (ฮิสทิดีน) | มีความสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีน |
Isoleucine (ไอโซลิวซีน) | มีความสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีน |
Leucine (ลิวซีน) | มีส่วนสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีน การซ่อมแซมกล้ามเนื้อ |
Lysine (ไลซีน) | ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมและการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน |
Methionine (เมไทโอนีน) | จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ |
Phenylalanine (ฟีนิลอะลานีน) | สร้างสารเคมี (tyrosine, dopamine, epinephrine และ norepinephrine) |
Proline (โพรลีน) | มีความสำคัญกับการทำงานของข้อต่อและเส้นเอ็น ซ่อมแซมผิวหนัง สมานเยื่อบุลำไส้ |
Serine (ซีรีน) | จำเป็นในการเผาผลาญไขมันและการผลิตแอนติบอดี |
Threonine (ทีโอนีน) | มีส่วนสำคัญในเมแทบอลิซึม การสังเคราะห์โมเลกุลขนาดใหญ่ และสภาวะสมดุลของลำไส้ |
Tryptophan (ทริปโตเฟน) | จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ช่วยบำรุงรักษากล้ามเนื้อ เอนไซม์ และสารสื่อประสาทของร่างกาย |
Tyrosine (ไทโรซีน) | จำเป็นสำหรับการผลิตสารสื่อประสาทในสมอง |
Valine (วาลีน) | กระตุ้นการเจริญเติบโต การสร้างกล้ามเนื้อและมีส่วนร่วมในการผลิตพลังงาน |
Selenocysteine (เซเลโนซิสเทอีน) | ช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้ดีขึ้น เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง |
จากตารางจะเห็นได้ว่าคอลลาเจนมีความสำคัญมากกับร่างกายของเรา แต่ไม่ได้จำเป็นว่าจะสามารถรับได้จากการกินคอลลาเจนเท่านั้น อาหารจำเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วต่างๆก็สามารถย่อยให้กลายเป็นกรดอะมิโนจำเป็นได้
กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด
กรดอะมิโนจำเป็น คือ กรดอะมิโนที่มนุษย์สังเคราะห์เองไม่ได้ จำเป็นต้องได้รับจากแหล่งอาหาร
กรดอะมิโน | หน้าที่ |
---|---|
Histidine (ฮิสทิดีน) | มีความสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีน |
Isoleucine (ไอโซลิวซีน) | มีความสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีน |
Leucine (ลิวซีน) | มีส่วนสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีน การซ่อมแซมกล้ามเนื้อ |
Lysine (ไลซีน) | ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมและการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน |
Methionine (เมไทโอนีน) | จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ |
Phenylalanine (ฟีนิลอะลานีน) | สร้างสารเคมี (tyrosine, dopamine, epinephrine และ norepinephrine) |
Threonine (ทีโอนีน) | มีส่วนสำคัญในเมแทบอลิซึม การสังเคราะห์โมเลกุลขนาดใหญ่ และสภาวะสมดุลของลำไส้ |
Tryptophan (ทริปโตเฟน) | จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ช่วยบำรุงรักษากล้ามเนื้อ เอนไซม์ และสารสื่อประสาทของร่างกาย |
Valine (วาลีน) | กระตุ้นการเจริญเติบโต การสร้างกล้ามเนื้อและมีส่วนร่วมในการผลิตพลังงาน |
แหล่งอาหารที่มีกรดอะมิโน
กรดอะมิโนได้จากอาหารจำพวกโปรตีน ถ้าทานอาหารครบ 5 หมู่ อย่างเพียงพอ ร่างกายก็จะได้รับกรดอะมิโนจำเป็นอย่างครบถ้วน แต่ในบางคนที่ไม่ทานเนื้อสัตว์ หรือคนที่เป็นมังสวิรัต แนะนำให้รับโปรตีนจากถั่วหรือธัญพืชหลายๆชนิด
- โปรตีนสมบูรณ์ – มีกรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 9 ชนิด เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม โยเกิร์ต ชีส ถั่วเหลือง เต้าหู้
- โปรตีนไม่สมบูรณ์ – มีกรดอะมิโนแค่บางชนิด เช่น ถั่ว และเมล็ดธัญพืชบางชนิด