ฉลามทราย หรือ ฉลามเสือทราย (Sand tiger shark) ชื่อวิทยาศาสตร์ Carcharias taurus เป็นหนึ่งในสามสายพันธุ์ของฉลามจัดอยู่ในจำพวก Carcharias และ Odontaspis ในวงศ์ Odontaspididae (อันดับ Lamniformes) ตั้งชื่อตามนิสัยนักล่าและพบบ่อยตามชายฝั่งในมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย
ลักษณะภายนอก
ฉลามทรายมีสีน้ำตาลอมเทา มีลำตัวขนาดใหญ่และแข็งแรง มีความยาวตั้งแต่ประมาณ 2.25 เมตร มีจมูกแหลม เชิดขึ้น ปากใหญ่อยู่ด้านล่างของหัว ฟันแหลมคมเต็มปากซึ่งยื่นออกมาทุกทิศทางแม้จะปิดปากก็ตาม มีช่องเหงือก 5 ช่อง แต่ไม่ขยายไปถึงด้านบนของหัว ครีบหลัง 2 ครีบ ไม่มีหนามด้านหน้าที่พบในฉลามตัวอื่นๆ
อาหาร
ฉลามทรายกินปลา สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง และปลาหมึก โดยทั่วไปแล้วจะออกล่าในเวลากลางคืน ใกล้พื้นทรายใต้มหาสมุทร
จุดเด่นของฉลามทราย
- มีลูกน้อย 2 ปีครั้ง
ฉลามทราย จะมีลูก 2 ปีครั้ง แต่ละครั้งจะมีลูกเพียง 2 ตัว โดยมาจากมดลูกข้างละ 1 ตัว เริ่มแรกมดลูกแต่ละข้างจะมีตัวอ่อนฉลามหลายตัว แต่จะถูกกินโดยตัวที่แข็งแรงที่สุดจนเหลือเพียงตัวเดียว - โผล่เหนือน้ำเพื่อกลืนอากาศ
ฉลามทรายเป็นฉลามชนิดเดียวที่ขึ้นสู่ผิวน้ำและกลืนอากาศลงไป แล้วกลั้นอากาศไว้ในท้อง เพื่อเลียนแบบกระเพาะลมของปลากระดูกแข็ง(ฉลามเป็นปลากระดูกอ่อน) ซึ่งช่วยให้มันลอยตัวอยู่ในน้ำนิ่งๆได้เพื่อล่าเหยื่อ
ความอันตรายต่อคน
โดยทั่วไปแล้วฉลามทรายถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่ไม่ก้าวร้าว เป็นที่รู้กันว่าจะโจมตีมนุษย์เมื่อถูกรบกวนก่อนเท่านั้น มีคนที่ถูกทำร้ายโดยฉลามทรายไม่บ่อย แต่จากทั้งหมด 36 ครั้งที่มีการรายงาน ก็ไม่พบว่าทำให้มีผู้เสียชีวิต ผู้ที่ถูกทำร้ายส่วนใหญ่เป็นนักว่ายน้ำ นักดำน้ำ หรือชาวประมง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากฉลามทรายมีฟันที่ใหญ่ จึงควรระมัดระวังเมื่อพบเจอ
ใกล้สูญพันธุ์
ตามข้อมูลสูญพันธุ์ตาม IUCN Red list ปี 2562 ฉลามทราย หรือ ฉลามเสือทราย (C. taurus) ถูกจัดให้เป็นฉลามที่ใกล้สูญพันธุ์
ข้อมูลอ้างอิง
- https://www.britannica.com/animal/sand-tiger-shark-fish-family (Accessed on 11 April 2024)
- https://www.nationalgeographic.com/animals/fish/facts/sand-tiger-shark (Accessed on 11 April 2024)
- https://www.floridamuseum.ufl.edu/discover-fish/species-profiles/carcharias-taurus/ (Accessed on 11 April 2024)